FOMO 101 : รู้จักกับอาการ Fear of Missing Out และวิธีรับมือที่ทำได้ไม่ยาก


: 22 ตุลาคม 2562

FOMO หรืออาการที่มีชื่อเรียกว่า Fear of Missing Out เป็นอีกอาการหนึ่งที่หลาย ๆ คนในปัจจุบันต้องพบเจอ และได้รับผลกระทบจากอาการนี้ไม่ว่าจะเป็นการเกิดความเครียดมากขึ้น หรือจะเป็นผลกระทบอื่น ๆ ที่หนักกว่าแค่ความเครียดก็มี วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเหล่าอาหาร FOMO กันในเบื้องต้น สำหรับใครที่สงสัยว่าตัวเองอาจจะมีอาการนี้ จะได้สังเกตและรู้ตัว และหาทางรับมือได้อย่างถูกต้อง

ใครที่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการ FOMO เบื้องต้นเหล่านี้ ก็อย่าลืมดูแลตัวเอง พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าหากไม่สบายใจก็สามารถไปพบจิตแพทย์ได้เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เลยนะ บอกเลยว่าอาการแบบนี้ใคร ๆ ก็เป็นกันได้ทั้งนั้นแหละ ว่าแล้วก็ไปทำความรู้จักกับอาการ FOMO กันเลยดีกว่า

FOMO คืออะไร?

FOMO ย่อมาจาก Fear of Missing Out ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้เรารู้สึกกลัวว่าจะพลาดสิ่งสำคัญ ๆ ไป อย่างเช่น การที่เรารู้สึกว่าต้องเช็กหน้าไทม์ไลน์ของ Facebook ตลอดเวลา เพื่อให้รู้ว่าใครกำลังทำอะไรที่ไหน หรือกำลังเกิดอะไรขึ้นบ้างในสถานที่อื่น ๆ และถ้าไม่ได้ทำแบบนั้นจะรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกเป็นกังวล เหมือนกับว่าเราจะพลาดอะไรไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน มาดูกันว่าอาการแบบไหนบ้างที่เข้าข่ายของ FOMO

 

ลักษณะอาการของ FOMO

ลักษณะอาการของ FOMO สามารถสังเกตได้ไม่ยากนะ ใครที่มีอาการเหล่านี้บ่อย ๆ อาจจะต้องหันมาสนใจตัวเองมากขึ้นแล้ว!

  • กลัวว่าคนอื่นจะได้รับประสบการณ์หรือได้พบอเจออะไรที่ดีกว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่
  • รู้สึกกระวนกระวายเมื่อไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ และคนรอบตัวของเรากำลังทำอะไรอยู่
  • รู้สึกแย่และวิตกกังวลมาก ๆ เมื่อรู้ว่าเพื่อน ๆ ไปเที่ยวหรือทำอะไรสุนก ๆ กันโดยที่ไม่ได้ชวนเรา
  • ต้องการที่จะเข้าใจมุกตลกต่าง ๆ ของกลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มคนที่เราอยู่ด้วย
  • เวลาไปเที่ยวหรือมีความสุข เราต้องการที่จะอัปเดทเรื่องราวเหล่านั้นลงบนโซเชียลมีเดียเสมอ
  • รู้สึกไม่สบายใจที่จะต้องเลื่อนนัด หรือยกเลิกนัด
  • เปรียบเทียบความสุขของตัวเองกับคนอื่นตลอดเวลา รู้สึกว่าคนอื่นมีความสุขมากกว่าเรา

ถ้ามีอาการเหล่านี้ก็คงต้องรีบหาวิธีดูแลตัวเองและวิธีที่จะช่วยให้เรามีอาการ FOMO น้อยลง แต่จะทำยังไงดีนะ?

 

ใช้ชีวิตให้ช้าลง

หลาย ๆ คนที่มีอาการ FOMO ส่วนมากจะเป็นคนที่ทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ทำหลายงาน ทำหลายกิจกรรม จนไม่มีเวลาให้ตัวเองได้นั่งพักเฉย ๆ บ้าง ซึ่งส่งผลให้เรากลายเป็นคนที่รู้สึกว่าจะต้องอัปเดทชีวิตตัวเองและชีวิตคนอื่นตลอดเวลา เพื่อให้เราไม่พลาดสิ่งวำคัญ ๆ ไปทั้งในเรื่องงานและกิจกรรมต่าง ๆ วิธีที่จะช่วยให้อาการ FOMO ดีขึ้นได้ก็คือการฝึกใช้ชีวิตช้า ๆ บ้าง ทำอะไรให้น้อยลง ใช้เวลากับตัวเองมากขึ้น ถ้าทำข้อนี้ได้ก็จะช่วยได้ส่วนหนึ่งเลยล่ะ

 

เขียนบันทึกประจำวันแทนการอัปเดทบนโซเชียลมีเดีย

หลาย ๆ ครั้งอาการ FOMO ก็ทำให้เรารู้สึกว่าคนอื่นจะต้องได้เห็นความสุขและกิจกรรมที่เราทำ เราเลยโพสต์กิจกรรมและรูปภาพต่าง ๆ ลงบนโซเชียลมีเดียเพื่อให้คนอื่นได้รับรู้ว่าเรากำลังมีความสุข ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ผิด แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่าความสนใจของคนอื่นมีผลต่อความรู้สึกของเรา ก็คงจะถึงเวลาที่เราจะต้องหันกลับมาฝึกให้ความสำคัญกับตัวเองมากขึ้นแล้ว การจดบันทึกลงบนสมุดไดอารี่แทนการอัปเดทลงบนโซเชียลมีเดียก็ช่วยได้นะ เราไม่จำเป็นจะต้องได้รับความสนใจจากคนอื่นเพื่อพิสูจน์ว่าความทรงจำและเรื่องที่เราทำนั่นมีคุณค่าหรอก เพียงแค่เราพอใจกับมันก็โอเคแล้ว

 

ใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง

เชื่อไหมว่าปัจจุบันมีคนมีอาการ FOMO มากขึ้นก็เพราะว่าเรามีสมาร์ทโฟนที่ทำให้เราเข้าถึงความเคลื่อนไหวของเพื่อน ๆ และคนรอบตัวได้ตลอดเวลา และการใช้โซเชียลมีเดียนั้นทำให้เราเกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ๆ ได้โดยที่เราอาจจะม่รู้ตัวด้วยซ้ำ แต่อย่าลืมว่าโพสต์ต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียนั้นเเป็นเพียงแค่ด้านเดียวของผู้คนเท่านั้นคือด้านที่มีความสุขนั่นเอง ทำให้เราอยากมีความสุขแบบเขาบ้าง อยากมีความสุขมากกว่านั่นเอง ดังนั้นการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลงจะช่วยให้อาการ FOMO ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน

 

คิดถึงสิ่งดี ๆ ที่เรามี

ลองเขียนสิ่งที่ดี ๆ เกี่ยวกับชีวิตของเราออกมาลงบนกระดาษทุก ๆ ครั้งที่นึกออก แล้วจะทำให้เราเห็นว่าจริง ๆ แล้วชีวิตของเราก็ไม่ได้แย่ไปกว่าคนอื่น และเราก็ไม่ได้พลาดอะไรไปเท่าไหร่หรอก ทุก ๆ ครั้งที่เราจัดสินใจจะไปเที่ยวกับเพื่อนแทนที่จะไปงานสัมนาของบริษัท ก็ทำให้เราได้มีความสุขกับเพื่อน ๆ และทำให้เราได้พักผ่อน ซึ่งก็เป็นข้อดีเหมือนกัน และโฟกัสกับข้อดีของสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะโฟกัสกับสิ่งที่เราพลาดไปอย่าง ความรู้ที่จะได้จากการไปงานสัมนา ถ้าลองมองในแง่ดี ๆ แบบนี้ และเขียนมันออกมา อาจจะทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้นก็ได้นะ

Writer Profile : มะขิ่น
Content Creator ที่ชอบอ่านหนังสือ รักการฟังเพลง และบูชาภาพยนตร์ ใช้เวลาว่างในการทำช่องยูทูปสอนภาษาอังกฤษ
Blog : Pumkinz's Area Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save